102 Views Report Error
เรื่องราวเกี่ยวกับปริศนาของเหตุฆาตกรรมหญิงสาวชาวอินเดียนแดงที่เธอได้เสียชีวิตอยู่ท่ามกลางหิมะที่หนาวเหน็บในวินด์ริเวอร์เขตสงวนของชาวอินเดียนแดงรัฐไวโอมิ่ง โดยผู้ที่พบศพของเธอเป็นคนแรกก็คือ คอรี่( เรนเนอร์ ) เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของเขตสงวนในระหว่างที่เขากำลังตามล่าสิงโตอยู่ เขาจึงวิทยุไปหา เบน ( กรีน ) หัวหน้าตำรวจชาวอินเดียนแดงในเขตสงวน เบนจึงเข้ามาในสถานที่เกิดเหตุพร้อมกับ เจน( โอลเซ่น ) FBI หน้าใหม่ที่ได้รับคำสั่งให้มาดูแลคดีนี้ และเนื่องจากเหตุขัดข้องทางกฎหมายในบางประการจึงทำให้เจนไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากส่วนกลางได้ทำให้เธอต้องทำงานเพียงลำพังโดยมีเพียงตำรวจท้องถิ่นเท่านั้นที่ช่วยเหลือ เธอจึงขอให้คอรี่มาช่วยในการตามล่าหาตัวฆาตกร เนื่องจากคอรี่มีความชำนาญในพื้นที่นี้เป็นอย่างดี ดูหนังใหม่
เรื่องย่อผลงานของผู้กำกับ เทย์เลอร์ เชอริแดน ส่วนใหญ่คือการเขียนบทซึ่งมีผลงานโดดเด่นระดับเข้าชิงออสการ์อยู่ 2 เรื่องได้แก่ Sicario (2015) ที่กล่าวถึงการตามล่าหัวหน้าค้ายาในชายแดนเม็กซิโก และ Hell orHigh Water (2016) ที่กล่าวถึงคู่พี่น้องที่ยอมเป็นโจรเพื่อพิทักษ์ที่ดินมรดกสุดท้ายของพวกเขาในเท็กซัสตะวันตก และพอถึงผลงานกำกับจากบทตัวเองอย่างWIND RIVER ก็สังเกตได้ไม่ยากว่า เชอริแดน ยังคงให้ความสนใจกับประเด็นการเมืองของคนชายขอบที่คราวนี้การเลือกเล่าเรื่องใน วินด์ริเวอร์ แหล่งอาศัยของชาวอินเดียนแดงที่ต้องทนกับสภาพความหนาวเหน็บระดับที่ตัวละครต่างเรียกที่นี่ว่า “นรกแช่แข็งโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การตายของเด็กสาวชาวพื้นเมืองแต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ WIND RIVER โดดเด่นจากหนังสืบสวนสอบสวนที่สร้างกันมาจนเกร่อคงหนีไม่พ้นการพูดถึงระบบราชการที่มีความซับซ้อนและบ่อยครั้งที่ความยุติธรรมก็อาจละเลยหรือหลงลืมชาวพื้นเมืองตามที่หนังให้ข้อมูลในเครดิตท้ายเรื่องว่ามีชาวอินเดียนแดงที่หายสาบสูญไปเป็นจำนวนมากโดยมีฉากหลังเป็นเมืองที่ปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนและมีสภาพอากาศหนาวเหน็บก็ยิ่งทำให้คนดูสัมผัสได้ถึงความคลุมเครือทั้งจิตใจมนุษย์และเส้นแบ่งระหว่างความยุติธรรมกับจรรยาบรรณที่ดูจะพร่าเลือนยิ่งนักโดยสิ่งที่ต้องชื่นชม เทย์เลอร์ เชอริแดนในฐานะผู้กำกับที่แม้จะมีผลงานกำกับไม่มากแต่ WIND RIVERกลับถูกถ่ายทอดออกมาอย่างกลมกล่อมมีจังหวะจะโคนและไม่น่าเบื่อ แม้สาระสำคัญของมันถือว่าหนักหน่วงและมุ่งวิพากษ์ระบบยุติธรรมในเชิงปฏิบัติ ทั้งการที่ต้องรอ FBI มาถึงที่เกิดเหตุเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายศพและส่งนิติเวชเพื่อชันสูตรศพ ซ้ำร้ายเมื่อถึงขั้นตอนนิติเวชแล้วเจ้าหน้าที่ FBI อย่าง เจนยังต้องเถียงกับเจ้าหน้าที่นิติเวชเรื่องสาเหตุการตายที่มีผลต่อการขอกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นความพร่าเลือนของ “เส้นแบ่ง” อันเป็นปัญหาของรัฐที่บกพร่องในการมอบความยุติธรรมให้กับชนกลุ่มน้อย ทำให้หลายครั้งตัวละครเองก็ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างถูกต้องตามจรรยาบรรณกับความยุติธรรมที่อาจต้องลดขั้นตอนบ้างเมื่อเข้าใกล้ความจริงอันฟอนเฟะ และทีละน้อยผู้ชมก็ค่อยๆเปลี่ยนจากผู้สังเกตการณ์กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดไปโดยปริยายนอกจากนี้ตัวหนังยังแอบซ่อนสัญลักษณ์กับการเล่นกับ “ประตู” สัญลักษณ์ของการเปิดเผยเปิดโปงและปิดกั้นได้อย่างแยบคายตั้งแต่ประตูแรกคือบ้านที่ เจนเข้าไปสวมชุดกันหนาวของลูกสาวคอรี่ที่ล่วงลับ หรือแม้แต่ประตูของเหล่าผู้ร้ายที่ไม่มีวันรู้เลยว่าพวกเขาภาคจะได้ไปเจอมัจจุราชตอนไหน ซึ่งถูกถ่ายทอดอย่างโน้มน้าวชักจูงและลุ้นระทึกแบบแทบลืมหายใจท่ามกลางหนังฟอร์มยักษ์ในปีนี้ ไม่น่าเชื่อว่างานประพันธ์เพลงสกอร์ของ WIND RIVER ของ นิค เคฟกับ วาร์เรน เอลลิส กลับลอยตัวโดดเด่นด้วยการไล่อารมณ์แต่ละฉากได้อย่างมีจังหวะจะโคน สร้างทั้งความหลอกหลอนและหม่นเศร้าที่อบอวลห่อหุ้มเรื่องราวได้อย่างมีมิติ นอกจากนี้งานออกแบบเสียงของหนังยังโดดเด่นจนอดพูดถึงไม่ได้ มีฉากหนึ่งที่อยากกล่าวถึงเป็นพิเศษคือฉากที่คอรี่พาเจนไปตามสืบเรื่องของเอมิลี่จากพ่อค้ายา ซึ่งหนังมีงานออกแบบเสียงที่น่าสนใจโดยเป็นผสมผสานระหว่างเสียงเพลงฮิพฮอพกับลมหนาวที่พัดแรงเป็นห้วงจนสร้างอารมณ์หลอกหลอนที่เฉพาะตัว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องชม WIND RIVER ในโรงภาพยนตร์เพื่อสัมผัสองค์ประกอบทางภาพยนตร์อย่างเรื่องเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงการวิพากษ์การเมืองอย่างคมคายเท่านั้นจุดเด่นอีกอย่างของ WIND RIVER คือการใช้ดราม่ามาขับเคลื่อนการตัดสินใจของตัวละคร โดยมีเรื่องราวอดีตอันขมขื่นของ คอรี่ ที่เคยสูญเสียลูกสาวไปกับกองหิมะจนเป็นตราบาป ซึ่งแม้หนังจะไม่ได้นำเสนอภาพการตายของลูกสาวคอรี่อย่างชัดเจน แต่การแสดงความรู้สึกของคอรี่ในการพบศพนาตาลีครั้งแรกก็ทำให้คนดูสัมผัสได้ถึงความแหลกสลายของจิตใจผู้เป็นพ่อของคอรี่โดยไม่ต้องอาศัยคำพูดใดๆ ซึ่งคงต้องยกความดีความชอบให้กับ เจเรมี เรนเนอร์ ที่ถ่ายทอดบทบาทนี้ออกมาได้อย่างเข้าอกเข้าใจ เป็นความเจ็บปวดที่ไม่ฟูมฟายแต่อัดแน่นเต็มอกรอวันระเบิด ซึ่งส่งผลให้ตอนไคลแมกซ์ของหนังออกมาทรงพลังด้วยการใช้ดราม่าของตัวละครเพื่อส่งเสริมกับเรื่องราวสืบสวนที่ทั้งดำมืดและเขย่าจิตใจผู้ชมในทุกช่วงตอนของหนังและคงไม่กล่าวเกินจริงหากจะกล่าวว่านี่คือบทที่จะเป็นใบเบิกทางสู่เวทีออสการ์เป็นครั้งที่สามแน่นอนด้าน อลิซาเบธ โอลเซ่น เองก็ทำหน้าที่ตัวเองได้เป็นอย่างดีในบทเอฟบีไอที่อยู่ผิดที่ผิดทางและไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจทั้งต่อสภาพอากาศและจิตใจอันดำมืดของมนุษย์ แต่น่าเสียดายว่าบทของเธอมีความใกล้เคียงกับบทของ เอมิลี บลันต์ จาก Sicario (2015)หนังที่เทย์เลอร์ เชอริแดน เคยเขียนบทมากเกินไป